สรุปเทคนิคคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สารบัญ

วิธีคิดแบบอัตราขั้นบันได

ขั้นตอนแรก หาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ขั้นตอนที่สอง หาภาษีที่จะต้องจ่าย

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

อัตราภาษีเราจะหาได้โดยจากการใช้ตารางด้านล่าง โดยใช้เงินได้สุทธิที่เราคำนวณมาได้มาเทียบกับตาราง

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
1 – 150,000ได้รับยกเว้น
150,001 – 300,0005%7,5007,500
300,001 – 500,00010%20,00027,500
500,001 – 750,00015%37,50065,000
750,001 – 1,000,00020%50,000115,000
1,000,001 – 2,000,00025%250,000365,000
2,000,001 – 5,000,00030%900,0001,265,000
5,000,001 บาทขึ้นไป35%

แว๊บแรกที่คุณเห็นตารางนี้ อาจจะรู้สึกงงว่าทำไมตัวเลขเยอะไปหมด อย่าเพิ่งกลัวไปครับ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย อยากให้มองว่านี้คือตารางวิเศษที่จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าในแต่ละปีคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อที่จะทำให้คุณมั่นใจว่าเข้าใจและใช้ตารางนี้ได้จริง เรามี 2 ตัวอย่างที่จะทำให้คุณเห็นภาพกับการใช้ตารางนี้เพื่อคิดภาษีที่คุณจะต้องเสีย ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูตัวอย่างแรกกันเลย

อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได

(1) เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% ) หากคุณอยู่ในขั้นแรกโดยเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท คุณจะไม่ต้องเสียภาษีเลย เนื่องจากได้รับการยกเว้น

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
1 – 150,000ได้รับยกเว้น

(2) เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
วิธีคิดค่าภาษี (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5% หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 7,500 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
150,001 – 300,0005%7,5007,500

(3) เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 7,500 – 27,500 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
300,001 – 500,00010%20,00027,500

(4) เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 27,500 – 65,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
500,001 – 750,00015%37,50065,000

(5) เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 65,000 – 115,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
750,001 – 1,000,00020%50,000115,000

(6) เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 115,000 – 365,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
1,000,001 – 2,000,00025%250,000365,000

(7) เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้สูงสุดไม่เกิด 365,000 – 1,265,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
2,000,001 – 5,000,00030%900,0001,265,000

(8) เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)
วิธีคิดค่าภาษี [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000 หากคุณอยู่ในขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียเงินได้มากกว่า 1,265,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
5,000,001 บาทขึ้นไป35%

ตัวอย่างการคิดแบบขั้นบันได

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจการใช้ตารางนี้ เราลองมาดูตัวอย่างการคิดกันเลย

ขอแทรกก่อนที่จะเข้าสู่ตัวอย่าง . . . เนื่องจากตัวอย่างที่เรายกมานั้น เป้าหมายคือต้องการให้คุณเข้าใจการใช้ตารางภาษีดังกล่าว ดังนั้นเราจึงยกรายได้สุทธิมาเพื่อง่ายต่อการเทียบในตารางได้เลย แต่อย่าลืมว่า ในชีวิตจริง คุณจะต้องหา รายได้สุทธิมาก่อน ซึ่งมาจาก เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ตัวอย่างที่ 1 นายเอเป็นมนุษย์เงินเดือนมีเงินได้สุทธิ 145,000 บาท นายเอจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
1 – 150,000ได้รับยกเว้น

ในตัวอย่างนี้ เงินได้สุทธิของนายเอยังไม่เกิน 150,000 บาท ทำให้ได้รับการยกเว้น ดังนั้นนายเอจึงไม่ต้องเสียภาษีเลย

ตัวอย่างที่ 2 นายบีเป็นผู้จัดการฝ่ายของบริษัทแห่งหนึ่งมีเงินได้สุทธิ 720,000 บาท นายบีจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีแต่ละขั้น (บาท)ภาษีสะสมสูงสุด (บาท)
500,001 – 750,00015%37,50065,000

เงินได้สุทธิของนายบีอยู่ในช่วงของ 500,001 – 750,000 บาท ซึ่งอัตราภาษีคือ 15%

หลังจากที่เราคำนวณภาษีของนาบเอและนายบีได้แล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องทำคือการยื่นภาษี อย่าลืมว่าการยื่นภาษีไม่เท่ากับการเสียภาษีนะ

วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา

ภาษีแบบเหมาที่ต้องเสีย = เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005

วิธีคำนวณภาษีแบบเหมาจะสามารถทำได้เมื่อมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน หรือเงินได้ประเภท 1 หากรายได้จากทางอื่นมีจำนวนทั้งหมด 120,000 บาท ที่ไม่ใช่เงินเดือนไปคูณ 0.005% จะเท่ากับคุณจะต้องเสียภาษี 600 บาท

ทำงานเหนื่อยมาทั้งปี

จะเสียเวลายื่นภาษีเองทำไม?

บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จ่ายเพียง 599.- เท่านั้น

รับจำนวนจำกัด !

แอดไลน์หาเราเลย