TL;DR – ยาวไปไม่อ่าน
หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยหลังจากที่เรายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปกันแล้วว่า “เราสามารถขอคืนเงินภาษีได้ไหม?” มีวิธีการอย่างไร? และคุณอยู่ในเงื่อนไขในการขอคืนภาษีหรือไม่? วันนี้ taxcount จะพาคุณมาเช็กถึงเงื่อนไข และวิธีขอคืนเงินภาษีให้เข้าใจและทำอย่างไรให้ถูกต้อง
การที่คุณมีสิทธิในการขอเงินคืนภาษีนั้น คุณต้องมั่นใจก่อนว่าคุณได้ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างปีมากกว่าค่าภาษีที่ตัวเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง วิธีคิดง่ายๆ โดยสามารถใช้สูตรวิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (คิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได)
วิธีขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากคุณได้ทำการคำนวณแล้วพบว่ามีสิทธิได้เงินภาษีคืน คุณจำเป็นจะต้องยื่นภาษี เพื่อขอเงินภาษีคืน
โดยปกติแล้วหลังจากที่เราได้ทำการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพกรเสร็จแล้ว ในช่วงขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นจะปรากฎข้อความ “ยอดภาษีสุทธิ ชำระไว้เกิน”
จากนั้นจะมีข้อความปรากฏว่า คุณต้องการขอคืนเงินภาษีที่ชำระเกินไว้หรือไม่? ให้คลิกไปที่ ต้องการขอคืน โดยทางสรรพากรจะแจ้งผลผ่าน SMS ตามเบอร์โทรศัพท์ ที่ได้ลงทะบียนไว้
ช่วงเวลาการขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากคุณเป็นคนที่ขี้ลืมแล้วเพิ่งมานึกได้ทีหลังคุณก็ยังสามารถขอเงินภาษีที่จ่ายเกินได้โดยที่คุณสามารถยื่นคำร้องในการขอคืนภายใน 3 ปีหลังจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี
ระยะเวลาในการได้รับเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืน
กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือนหลังจากวันที่ยื่นเอกสารขอเงินคืนภาษี
วิธีการเช็กหรือตรวจสอบสถานะ
- ข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพกรได้ที่ https://www.rd.go.th/272.html
- กดเลือกเมนู “สอบถามการคืนภาษี”
- กรอกข้อมูล เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขบัตรประชาชน), ชื่อผู้เสียภาษี, และชื่อสกุล (นามสกุล)
- จากนั้นกดไปที่ “สอบถาม”
- เช็คสถานะของเงินคืนภาษี
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถที่จะขอคืนเงินภาษีได้อย่างง่ายดาย แต่อย่าลืมว่าการที่จะขอคืนนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องมีเอกสารที่เป็นหลักฐานสำคัญในการขอคืน เช่น 50 ทวิ หรือ เอกสารลดหย่อนต่างๆ