TL;DR – ยาวไปไม่อ่าน
เราอยากให้คุณเริ่มเปิดใจกับการฝึกภาษาอังกฤษอีกรอบ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 2 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (แกรมม่า และคำศัพท์) และ 4 ทักษะที่คุณควรจะฝึก (ฟัง พูด อ่าน และเขียน)
ภาษาอังกฤษเป็นยาขมสำหรับคนไทยมานาน เราเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ปัญหาที่เราเจอเหมือนกันเลยก็คือ เราก็ยังไม่ได้ภาษาอังกฤษสักที อ่านก็ไม่ค่อยเข้าใจ เจอฝรั่งก็ไม่กล้าที่จะสื่อสาร ถ้าคุณเป็นแบบนี้ บทความนี้เหมาะกับคุณ ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา ผมอยากจะให้คุณลืมทุกอย่างที่คุณรู้มาก่อน รวมถึงความรู้สึกของคุณที่มีกับภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะยาก ทำไม่ได้ จำศัพท์ไม่ได้ หรือไม่เข้าใจแกรมม่า อยากให้คุณลืมเรื่องพวกนี้ไปก่อน แล้วอยากให้คุณคิดไว้ในใจอย่างเดียวว่า “เราทำได้”
2 สิ่งที่ควรรู้ : แกรมม่า และคำศัพท์
พื้นฐานที่สำคัญเปรียบเหมือนการวางรากฐานอิฐชั้นแรกให้มั่นคง ก่อนที่จะก้าวไปสู่การฝึกทั้ง 4 ทักษะของการสื่อสาร ในส่วนแรกนี้เรามาทำความรู้จักกับแกรมม่าและคำศัพท์กัน
Grammar
เชื่อได้เลยว่าเมื่อคุณเห็นคำนี้แล้ว ภาพทรงจำเก่าที่แสนน่าเบื่อตอนสมัยเรียนพุดขึ้นมาในหัวคุณอย่างแน่นอน เราเรียนแกรมม่ากันตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม รวมเป็นเวลา 12 ปี แถมต่อในอีกบางหน่วยกิตพื้นฐานที่นิสิต / นักศึกษาต้องเรียนกันตอนมหาวิทยาลัยด้วย เราใช้ชีวิตเรียนรู้กับมันมาเป็นทศวรรษ แต่ไหนเล่า เราจึงยังไม่ได้แกรมม่าสักที ก่อนที่คำถามในหัวคุณจะขึ้นมา “แล้วจะฝึกอย่างไรถึงจะได้” ผมขอแทรกด้วยคำถามที่ว่า “แล้วเราเรียนแกรมม่าไปเพื่ออะไรกัน”
ผมอยากให้มองว่าการเรียนแกรมม่าเหมือนเป็นเล่นเกมส์ต่อจิ๊กซอ หรือการต่อตัวต่อ ซึ่งการต่อแต่ละตัวเข้าด้วยกันนั้น เราไม่สามารถเอาอะไรก็ตามมาวางต่อกันได้เลย แต่มันก็ต้องมีกฎเกณเป็นตำกำนหดว่า อะไรควรจะมาก่อน มาหลัง อะไรควรจะตามหรือนำหน้าสิ่งใด นี้แหละคือหน้าที่ของแกรมม่าที่เป็นตัวบอกว่า ในหนึ่งประโยคที่เราจะแต่งขึ้นมานั้น คำแต่ละคำที่เราเอามาประกอบกัน อะไรควรอยู่ที่ตรงไหน
ตัวอย่างภาษาไทย เรามักจะเอาคำคุณศัพท์ (Adjective) มาวางไว้หลังคำนาม (Noun) เช่น แอปเปิ้ลสีแดง เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าลักษณะของแอปเปิ้ลลูกนั้นว่าเป็นสีอะไร แต่ในภาษาอังกฤษ Adjective จะอยู่หน้า Noun ก็จะเป็น a red apple แบบนี้ ดังนั้น การเรียนแกรมม่าจะทำให้คุณรู้ว่าอะไร ควรจะอยู่ตรงไหน เพื่อให้การต่อจิ๊กซอนั้นมันถูกต้อง และออกมาเป็นภาพได้สมบูรณ์
คำศัพท์
หลังจากที่คุณรู้แกรมม่าแล้ว รู้ว่าประโยคแต่ละอันมันต้องมีอะไรบ้าง โครงสร้างเป็นอย่างไร คุณก็สามารถสร้างประโยคได้แล้ว คราวนี้เรามาท่องศัพท์กันดีกว่า แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าเราท่องคำศัพท์ไปทำไมกัน?
การที่คุณได้เรียนแกรมม่ามาก่อนแล้ว จะทำให้คุณได้รู้ว่า 1 ประโยคประกอบไปด้วย ประธาน (subject) และกริยา (verb) ตัวอย่างเช่น ชั้นเดิน หรือว่า I walk. คราวนี้ จากโครงสร้างเดียวกัน แต่เราเพียงแค่เปลี่ยน “คำศัพท์” เช่นเปลี่ยนจาก “เดิน” เป็น “ยิ้ม” ได้ว่า ชั้นยิ้ม หรือ I smile. เห็นไหม่ว่าเพียงแค่โครงสร้างเดียวกัน แต่เพียงแค่เปลี่ยนคำศัพท์ ก็จะทำให้คุณได้ประโยคใหม่ที่สามารถใช้ได้หลากหลายบริบทแล้ว
ผมอยากให้คุณลองมองว่า แกรมม่าเปรียบเสมือนเงื่อนไขในการวางกล่อง ว่าแต่ละกล่องจะต้องต่อกันอย่างไรให้เป็นประโยค แล้วคุณแค่เอาคำศัพท์มาใส่เพื่อให้ได้ตามประโยคที่คุณต้องการจะสื่อความหมาย
4 ทักษะที่ควรฝึก: ฟัง พูด อ่าน เขียน
ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน คุณเคยสงสัยกับตัวเองไหมว่า พยายามฝึกภาษาอังกฤษด้วยการท่องศัพท์ตั้งมากมาย วันละหลายสิบคำ แต่ทำไมยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักที ทำให้คุณได้แต่โทษตัวเองว่าไม่เก่ง ท้อ และก็เลิกฝึกไป แต่ผมว่าคุณพอจะเริ่มเห็นภาพแล้วว่า การที่คุณฝึกแค่การท่องศัพท์นั้น มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับทักษะทั้ง 4 เลย
ทักษะทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะพื้นฐานที่คุณจะต้องใช้เวลาสื่อสาร ลองนึกภาพตามว่าถ้าสมมติคุณจะต้องติดต่อลูกค้าต่างชาติ คุณอาจจะต้องโทรคุย หรือนัดประชุมกับเขา ซึ่งอันนี้ก็ต้องใช้ทักษะการฟัง และพูด หรือถ้าคุณจะทำเอกสาร หรือส่งอีเมล ก็ต้องใช้ทักษะการเขียน และการอ่าน ดังนั้น เป็นสิ่งที่คุณหนีไม่ได้สักทักษะ เพื่อให้คุณฝึกได้ง่ายขึ้น ผมจะขอจัดกลุ่ม 4 ทักษะเป็น input (อ่าน และฟัง) และ out (เขียน และพูด)
สาเหตุที่ผมแบ่งออกเป็น input และ output เพราะการฝึกนั้นแตกต่างกัน ทำให้เทคนิคกในการฝึกของแต่ละกลุ่มทักษะก็แต่งต่างกันออกไปด้วย มาเริ่มต้นกันด้วยที่ input กันดีกว่า โดยที่ input มันก็คือการรับข้อมูลเข้ามาที่ตัวเรา โดยผ่านการอ่าน (reading) หรือฟัง (listening) ส่วน output คือการที่เราสร้างข้อมูลออกไปโดยผ่านทาง การพูด (speaking) หรือการเขียน (writing) นั้นเอง
ไม่มีฝรั่งให้ฝึกด้วย จะเก่งได้อย่างไร?
ข้อดีของการที่คุณมองการฝึกภาษาอังกฤษ แยกออกมาเป็นส่วนต่างๆ แบบนี้ จะทำให้คุณได้รู้ตัวเองว่า คุณนั้นมีจุดแข็งจุดอ่อนที่ตรงไหน จะได้ไม่เสียเวลาฝึกฝนในสิ่งที่คุณได้อยู่แล้ว เคยไหมที่ฝึกทีไรก็รู้สึกว่าวนอยู่ในอ่าง ไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม อาจจะเป็นเพราะคุณฝึกไม่ถูกจุดที่คุณอ่อนจริงๆ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะฟังได้คล่อง ไม่มีปัญหากับการฟัง แต่เมื่อเวลาที่ต้องพูดหรือเขียน ประโยคที่ออกมานั้นมันดูแปลกๆ หรือมันดูเป็นแค่ๆ คำ คุณใช้เวลาเพิ่มเติมในการท่องศัพท์ ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาที่แท้จริง อาจจะไม่ได้อยู่ที่คลังคำศัพท์ในหัวของคุณ แต่อยู่ที่คุณอ่อนแกรมม่าหรือเปล่า?