TL;DR – ยาวไปไม่อ่าน
การลาพักผ่อนหรือลากิจหรือลาป่วยเป็นสิทธิ์ของลูกจ้างที่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งสิทธิ์ในการลาเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามกฎหมายและนโยบายของบริษัท หรือสถานประกอบการที่ทำงานอยู่
การลาหยุดตามกฎหมาย 4 วัน: นายจ้างหักเงินลูกจ้างไม่ได้ !
ลาป่วย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 ประกอบมาตรา 57 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง แต่ถ้าลูกจ้างป่วยเกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น อุบัติเหตุ หรือโรคที่ต้องการรักษาเป็นเวลานาน ลูกจ้างสามารถขอลาป่วยเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น โดยการขอลาป่วยเพิ่มเติมนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างหรือผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งการอนุมัติลาป่วยเพิ่มเติมจะขึ้นอยู่กับเหตุผลและเงื่อนไขต่าง ๆ ของบริษัทแต่ละแห่ง และอาจจะต้องใช้เอกสารหรือใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานในการลาป่วยด้วยด้วย
ลากิจ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 34 ประกอบมาตรา 57/1 ลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจไม่เกิน 6 วันต่อปี โดยเงื่อนไขของการลากิจจะต้องได้รับการพิจารณาจากนายจ้าง โดยผู้ลาต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้) นอกจากนี้ การลากิจต้องไม่เป็นการลาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และต้องไม่เป็นการลาหยุดราชการ นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ลากิจเพิ่มเติมในกรณีที่นายจ้างกำหนดเอาไว้ในสัญญาจ้างและนโยบายของบริษัท
ลาพักร้อน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ประกอบมาตรา 56 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีละไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวหรือตามที่บริษัทจะตกลงกับพนักงานก็ได้ ในทางปฏิบัติหลายบริษัทมักให้พนักงานเป็นคนกำหนดวันที่จะหยุดเองแล้วขออนุมัติจากบริษัท นอกจากนี้ บริษัทอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ หรือในกรณีที่เราใช้สิทธิ์ไม่ครบตามจำนวนวันที่ได้รับสิทธิ์ บริษัทก็อาจอนุญาติให้สามารถเก็บสะสมและนำไปรวมเข้ากับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีต่อไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทและพนักงานจะตกลงกัน
ลาคลอดได้กี่วัน?
ลาคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 41 ประกอบมาตรา 59 มีระยะเวลากำหนดลาคลอดทั้งหมด 98 วันโดยให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วยโดยพนักงานจะได้รับค่าจ้างจากบริษัทไม่เกิน 45 วัน และจากประกันสังคมได้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนฐานเฉลี่ย (ถ้าเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาทต่อ จะคิดจาก 15,000 บาทเท่านั้น) เป็นระยะเวลา 90 วัน
อย่างไรก็ตามนโยบายของบริษัทอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ดังนั้น ควรอัพเดตตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้ถูกต้องตามกฏหมายแรงงาน เพื่อที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รักษาสิทธิ์ของตัวเอง เพื่อการทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น