คำถามที่พบบ่อยในการจดทะเบียนบริษัท (อัพเดท 2567)

การจดทะเบียนบริษัทเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มธุรกิจในประเทศไทย ความเข้าใจในกระบวนการและการเตรียมเอกสารที่ครบถ้วนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น บทความนี้จะให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อช่วยคุณเตรียมตัวอย่างถูกต้องและมั่นใจในทุกขั้นตอนของการจดทะเบียนบริษัท

จดบริษัทต้องมีผูุ้ถือหุ้นกี่คน?
ต้องมีอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้างในการจดทะเบียนบริษัท?

  • ชื่อบริษัท ภาษาไทยและอังกฤษ
  • ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ / สาขา (ตั้งอยู่จังหวัดไหน) พร้อมเลขรหัสประจำบ้านของที่ตั้งสำนักงาน
  • ภาษาไทยและอังกฤษ
  • ผู้เริ่มก่อการ: 
  • ชื่อ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ บัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ จำนวนหุ้น
  • พยาน 2 คน (ในหนังสือบริคณห์สนธิ)
  • ชื่อ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ 
  • ผู้ถือหุ้น: 
    • ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
  • กรรมการ: 
    • ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ของกรรมการ
    • ชื่อกรรมการภาษาอังกฤษ
    • รายชื่อ หรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)
  • ที่อยู่เว็บไซต์
  • วัตถุประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการ
  • ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน อาชีพ และจำนวนหุ้นที่ผุ้เริ่กม่อการจองซื้อไว้
  • จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้วทุกหุ้น อย่างร้อย 25% ของค่าหุ้น
  • ตราบริษัท

ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการจะทะเบียนบริษัท?

  • คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ. 1)
  • แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ. 2) ชำระค่าอาการแสตมป์ 200 บาท
  • รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ. 3)
  • แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
  • รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  • ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
  • หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีฏำหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต ธุรกิจจัดหางาน กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) กิจการไปรษณีย์ กิจการนายหน้าประกันภัย ธุรกิจขายตรงหรือธุรกิจตลาดแบบตรง)
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ. 5)
  • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือผู้รับมอมฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
  • สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  • สำเนาข้อบังคับ ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท (ถ้ามี)
  • สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • กรณีทุนที่ขอทจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท ให้จัดส่งเอกสารเพิ่มเติมตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 1/2566 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
  • แบบ สสช. 1
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดนสังเขป
  • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  • สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  • หนังสือมอมอำนาจ (ถ้ามี)

ค่าธรรมเนียบที่ต้องจ่ายกับหน่วยงานราชการ?
5500 บาท สำหรับ ค่าธรรมเนียมสำหรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท 5000 บาท

สิ่งที่ต้องทำในแต่ละเดือนหลังจากเปิดบริษัท?

  • จัดทำบัญชี, มีการตรวจสอบงบการเงินโดยผุ้สอบบัญชีรับอณุญาต และนำส่งงบการเงินต่อหน่วยงานรัฐทุกปี
  • หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน และต้องยื่นแบบ ภงด 3 หรือ 53
  • สำหรับบริษัทที่ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมด้วย
  • ยื่นส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด 1) สำหรับเงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงานประจำ

จดทะเบียนบริษัทแล้วต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลยไหม?
ไม่จำเป็น เพราะรายได้ของคุณยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ยังได้รับการยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขั้นตอนการจดทะเบีนยบริษัทมีอะไรบ้าง?
3 ขั้นตอนการจดทบริษัท

  1. จองชื่อบริษัท
  2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
  3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปที่กรมพัฒนาธุรกิจกาค้าเพื่อดำเนินเรื่อง เพียงแค่กรอกข้อมูลในฟอร์ม และนอกนั้นเราจัดการให้คุณเอง

จดทะเบีนบริษัทที่ไหนได้บ้าง ได้กี่ช่องทาง
สามารถจดได้ 2 ช่องทางคือ ยื่นขอจดทะเบียนบริษัทพร้อมเอกสารต่อนายทะเบียนที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นขอจดทะเบียนบริษัททางออนไลน์

พิเศษ
จดทะเบียนบริษัทออนไลน์กับแทคซ์เคาต์ ไม่ต้องนั่งเตรียมเอกสารเอง ราคาเพียง 9,900 บาทเท่านั้น (รวมค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาธุรกิจแล้ว) ดูรายละเอียดเพิ่มเติม กดที่นี้ หรือไลน์คุยกับเราได้ที่ @taxcount (มี @)