TL;DR – ยาวไปไม่อ่าน
เป็นปัญหาทั่วไปในที่ทำงานหลายแห่งที่พนักงานมักจะอยู่กับบริษัทเดิมไม่ถึง 2 ปี คนที่เพิ่งเริ่มทำงานมักจะลาออกภายใน 1 ปี ในขณะที่พนักงานที่มีประสบการณ์อาจลาออกหลังจากผ่านไปสองปี รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจจะนำไปสู่ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของเหล่าผู้ประกอบการอย่างพวกคุณ บริษัทจึงต้องให้ความสำคัญ ทั้งพนักงานที่อยู่ต่อ และพนักงานที่พร้อมจะลาออกในช่วง 2 ปี
ซึ่งจะแตกต่างกับอีกกลุ่มที่เหลืออยู่ในบริษัท ที่เรียกว่ากลุ่มคนไม่เหลือประโยชน์ต่อบริษัท ค่อนข้างที่จะแก้ได้ยากมาก เพราะแรงจูงใจในการทำงานไม่มีอีกทั้งยังขาดความรู้และความสามารถอีกด้วย
ให้เราอ่านให้ฟัง
5 กลยุทธ์ที่ทำให้คนอยากอยู่กับบริษัทต่อ
1. การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากที่ทำให้คนอยากอยู่ต่อกับบริษัทคุณ หากบริษัทมีฐานเงินเดือนตามมาตรฐาน หรือถ้าบริษัทใดมีฐานเงินเดือนที่ดีกว่าบริษัทอื่นในธุรกิจเดียวกัน นั่นก็เป็นเหตุผลที่จะทำให้ คนทำงานอยากร่วมงานกับบริษัทของคุณ
2. เพื่อนร่วมงาน มีอิทธิผลเป็นอย่างมาก
ความคิดเห็นของพนักงานที่ยังคงทำงานกับบริษัทมักจะให้คำตอบว่า ที่ยังอยากทำงานร่วมอยู่ก็มาจาก มีเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานที่ดี อยู่แล้วรู้สึกอบอุ่น รวมทั้งได้รับการยอมรับจากทั้งเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานของตัวพนักงาน
3. สถานที่ทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คุณคงคิดไม่ถึงว่า “สถานที่ทำงานหรือสภาพแวดล้อม” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน หากบริษัทมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ก็จะช่วยให้พนักงานเกิดความพอใจในการทำงาน อีกทั้งอาจจะยังส่งผลให้งานออกมาดีอีกด้วย คุณคงไม่คิดอยากจะนั่งทำงานที่เบียด ๆ จนไม่มีพื้นที่ให้คุณได้ทำงานอย่างสะดวกเช่นกันใช่ไหม พนักงานก็มีความคิดเช่นนั้นเหมือนกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับคุณแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่สามารถดึงดูด ให้คนที่เก่ง หรือมีความสามารถมาร่วมงานกับคุณอีกด้วย
4. นโยบายความหลากหลาย
ความหลากหลายนั้นมีอยู่ทุกบริษัท แต่อยู่ที่ว่าตัวของบริษัทเองนั้นจะมีวิธีการรับมือกับความหลากหลายนั้นอย่างไร การเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดและแสดงศักยภาพที่พนักงานมี หรือการยอมรับในเพศสภาพ อายุที่แตกต่าง ก็มีส่วนที่จะสะท้อนของตัวบริษัทว่ามีการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ มากน้อยแค่ไหน
5. ความยุติธรรม เช่นการประเมินผลที่โปร่งใส
ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ควรมีและปฏิบัติตาม ทางตัวผู้ประกอบการหรือผู้บริหารเองไม่ควรใช้เกมทางการเมือง หรือใช้พนักงานเป็นหมากในการเดิน เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การที่ทำแบบนี้อาจมีส่วนทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกเกิดขึ้น เพราะความไม่โปร่งใสในตัวของบริษัทเอง คุณคงไม่อยากจะได้ยินเสียงบทสนทนาจากพนักงาน ว่าคนนี้พวกใคร? คนนี้เด็กใคร? ทำไมเพิ่งจะเริ่มงานแล้วได้เลื่อนขั้นไวจัง เพราะฉะนั้นแล้วการประเมินผลหรือการเลื่อนขั้นพนักงาน ก็ควรที่จะมีมาตรฐานที่ชัดเจนเพื่อให้พนักงานทั้งบริษัทได้เกิดความเข้าใจ .
การอยู่ในบริษัทอย่างมีคุณค่า เกิดความเป็นเจ้าของงานคุณต้องส่งเสริมให้มีอิสระในการพูดเพื่อให้รู้สึกว่าพวกเค้าเหล่านั้นมีคุณค่ากับบริษัท ส่วนที่ชอบบอกกันว่า “ที่นี่เราทำงาน อยู่กันแบบครอบครัว” เป็นเพียงแค่คำพูด ในทางปฎิบัติ บริษัทต้องสร้างประสบการณ์ร่วมกัน ทำให้พนักงานรู้สึกว่าบริษัทคือพื้นที่ที่พนักงานอยากอยู่ แต่หากคุณไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ ต้นทุนการลาออกขนาดใหญ่ก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ในปีที่ผ่านมาคนตกงานเยอะมากก็จริง แต่งานเองก็หาคนยากมากขึ้นเช่นกัน เพราะว่าความต้องการของบริษัทมักสูงขึ้นและมีความซับซ้อนมากกว่าเดิม เช่นทำงานหลากหลายตำแหน่ง แต่ได้เงินเดือนตำแหน่งเดียว ทำให้ทักษะที่มีอยู่เดิมไม่รองรับ บริษัทจึงจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือที่น่าจดจำ ให้คนที่ไม่รู้จักบริษัทได้รู้จักมากขึ้น และอยากมาสมัครงานมากขึ้น และทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ผู้ประกอบการอย่างคุณ น่าจะสนใจไม่น้อยและไม่ควรมองข้าม