How-to: ใช้ ChatGPT เขียนบทความ พร้อม Prompts ทุกขั้นตอน

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการใช้ ChatGPT ในการเขียนบทความ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการร Content Market เพื่อดึงดูดคนที่สนใจ หรือ target ผ่าน content รวมถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์และองค์กรของคุณ ทำให้เห็นคุณมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จริงๆ สำหรับมือใหม่ที่อาจจะไม่เคยเขียนบทความมาก่อนอย่างคุณ อาจจะเป็นกังวลว่าตัวเองไม่มีทักษะการเขียนเลย หรือบางทีก็ไอเดียตัน คิดไม่ออก อยู่ที่หน้าจอเปล่าๆ เป็นชั่วโมง เขียนอะไรไม่ออกสักตัว ผมเข้าใจความรู้สึกแบบนั้นดี เพราะตอนที่ผมเริ่มเขียนใหม่ๆ ก็มีสภาพไม่ต่างจากที่เล่ามาข้างต้นเลย

ทำไมต้องใช้ ChatGPT ในการเขียนคอนเทนต์

ถือว่าเป็นความโชคดีของพวกเราที่เทคโนโลยีสมัยนี้ไปได้ไกล และไปได้เร็วกว่าที่เราคิดไว้ โดยเฉพาะตั้งแต่การเปิดตัวของ ChatGPT ที่ส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการเขียคอนเทนต์ด้วย

จากปกติแต่ก่อนในหนึ่งบทความเราอาจจะต้องใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงในการนั่งเขียนเอง หรือผู้ประกอบการบางรายก็จ้าง writer มาช่วยแรงในงานส่วนนี้ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ ChatGPT จะช่วยให้คุณประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายนี้ไปได้เลย เพราะเพียงแค่ไม่กี่คลิกเท่านั้นคุณก็จะได้บทความที่คุณต้องการ

คุยกับ AI ผ่าน Prompt

คุณอาจจะคิดว่าการที่เราจะคุยกับ AI ได้นั้น จะต้องเขียนโปรแกรมหรือว่า coding เป็นหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงครับ การคุยกับ ChatGPT คุณไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน หรือประสบการณ์ในการเขียนโค้ดมาก่อนเลย เพราะภาษาที่เราใช้นั้น เป็นแบบที่เราคุยกับคนทั่วไปเลย ว่าเราต้องการอยากจะรู้อะไร หรือจะสั่งให้มันทำอะไร สื่อสารกับมันได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเราจะเรียกมันว่า Prompt ครับ

A good prompt is one that effectively communicates your request or desired conversation topic to the ChatGPT model.

Prompts แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

ในความเป็นจริงแล้ว Prompt นั้นสามารถแบ่งได้หลายประเภท แต่ผมขอยกมา 3 ประเภทที่คิดว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์เหมาะสมในการเขียนคอนเทนต์

Question Prompt – ถามคำถาม

Prompt เป็นประเภทนี้คือคุณโยนคำถามไปให้ ChatGPT ตอบได้เลย เช่น

Prompt How can I effectively manage my business finances?

Instruction Prompt – สั่งให้ทำงาน

อันนี้คือคุณสั่งให้ ChatGPT ทำตามคำสั่งที่คุณสั่งงานออกไป เช่น

Prompt Provide tips for improving customer satisfaction in a retail business.

Scenario Prompt – สมมติเรื่องราว

Prompts ประเภทนี้น่าสนใจมาก เหมาะสมกับการหาไอเดียใหม่ คุณทำการสมมติเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมา แล้วให้ ChatGPT ตอบ หรืออธิบายจากเหตุการณ์ที่คุณได้เล่าให้กับมันฟัง เช่น

Prompt Pretend you are a customer support representative. Help me troubleshoot an issue with my computer.

เวลาที่คุณคุยกับ ChatGPT จริงๆ คุณไม่จำเป็นต้องเลือกประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถใช้รวมกันได้

Prompt ที่ดีหน้าตาเป็นอย่างไร?

ถึงแม้ว่าความรู้ที่ใช้เทรน ChatGPT นั้นมีมากมาย ทำให้มันเป็น AI ที่ฉลาดตัวนึงของโลก การที่เราจะรีดพลังออกจากมันมานั้น ก็ขึ้นอยู่กับการที่คุณสื่อสารกับมันด้วย เรามาดูกันว่า prompts ที่ดีนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร จะได้สื่อสารให้โดน และคุณจะได้สิ่งที่ต้องการจากมัน

Clarity ข้อมูลที่คุณถามมันไม่ควรจะกำกวม ต้องชัด และเคลียร์

  • Prompt What are the key steps to starting a successful online business?
  • Prompt Tell me about entrepreneurship.

Specificity เจาะจง เอาให้ชัดว่าคุณอยากจะได้อะไรจากมัน หรือเกี่ยวข้องกับอะไร

  • Prompt Provide five effective marketing strategies specifically for small businesses on a limited budget.
  • Prompt Give me some tips for success in business.

Context บริบทชัด เพื่อให้ ChatGPT เข้าใจสถานการณ์

  • Prompt In the context of entrepreneurship, discuss the importance of building a strong personal brand and how it can contribute to business success.
  • Prompt Give me some tips for success in business.

คำเตือน !!!

คุณอาจจะพอรู้ชื่อเสียงความเก่งกาจของ ChatGPT มาบ้างแล้ว แต่ผมอยากจะให้คุณเก็บ 3 ข้อนี้ไว้ในใจทุกครั้งที่คุณจะให้มันช่วยทำงาน เพราะต้องยอมรับว่ามันยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการ ซึ่งอาจจะซึ่งผลต่องานของคุณได้เลยทีเดียว

ความถูกต้องของข้อมูล

อย่าเชื่อใจกับคำตอบที่ ChatGPT ให้คุณมา มันไม่ได้ถูกต้อง 100% ซึ่งในหน้าเว็บไซต์ของ OpenAI (บริษัทแม่ของ ChatGPT) ก็ได้ระบุไว้เองด้วยถึงประเด็นตรงนี้ว่ามันจะตอบออกมาด้วยความมันใจ แต่คำตอบนั้นอาจจะไม่ได้ถูกต้อง หรือ nonsense ไปเลยก็ได้

ความรู้ยังไม่ได้อัพเดทถึงปัจจุบัน

วันที่ได้เขียน และปล่อยบทความนี้ ChatGPT 3.5 ยังคงถูกตัดความรู้ไว้ที่ปี 2021 ดังนั้น ถ้าหากคุณถาม หรือต้องการความรู้ที่มันอัพเดทในวันที่คุณถาม มันอาจะตอบคุณไม่ได้ หรือมันตอบด้วยความมั่นใจ แต่ข้อมูลอาจจะยังไม่อัพเดท ยังให้ข้อมูลที่ยังเป็นของเก่าอยู่

ต้องกลับมาเช็คงานด้วย

หลังจากที่คุณให้มันเขียนบทความเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยบทความนั้นทันที แต่คุณต้องกลับมาตรวจสอบอีกรอบหนึ่งด้วย เพราะคำบางอย่าง (ยิ่งให้เขียนภาษาไทย) ยังให้ความรู้สึกถึงบอทเขียนให้ และที่สำคัญเลยก็คือ ต้องกลับมาตรวจความถูกต้องของข้อมูล (ตามเหตุผลที่บอกไปสองข้อก่อนหน้านี้)

รูปแบบบทความที่เราจะเขียน

ก่อนที่จะเราจะลงมือเขียนบทความกัน เรามาดูโครงสร้างของบทความก่อนว่าในหนึ่งบทความนั้นเราควรจะมีอะไร การที่คุณรู้ว่าโครงสร้างของบทความมีอะไรบ้าง จะได้เป็นไกด์ไลน์ให้คุณนั้นเห็นภาพโดยรวม และสามารถสั่งให้ ChatGPT เขียนในแต่ละส่วนได้ เพราะในแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่ และตำแหน่งที่ไม่เหมือนกัน

เริ่มต้นของบทความทั่วไป เราจะเริ่มต้นในส่วของ Introduction เป็นการเกริ่นให้ผู้อ่านได้เห็นภาพโดยรวมก่อนว่า บทความนี้จะมีอะไรบ้าง ส่วนต่อมาจะเป็นในส่วนของสาบัญ หรือ outline ที่จะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าในบทความนี้จะประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง แล้วส่วนต่อไป ก็จะเป็นรายละเอียดเนื้อหาในหัวข้อย่อยนั้นๆ ที่คุณต้องการนำเสนอ และสุดท้าย ปิดท้ายบทความด้วย conclusion ซึ่งเป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอีก ในส่วนนี้คุณอาจจะเพิ่ม Call to Action ให้กับผู้อ่านได้ติดต่อกลับคุณไปได้อีกด้วย ซึ่งในทุกส่วนที่กล่าวมานั้น เราสามารถให้ ChatGPT เขียนให้ได้หมดเลย !

ลงมือกันเลย

เตรียมสารตั้งตั้งก่อนการเริ่มเขียน

นี้คือพาร์ทที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะคุณจะเขียนบทความ หรือทำคอนเทต์อะไรก็แล้วแต่ คุณจะต้องรู้ก่อนว่าคุณกำลังจะทำให้เสพคอนเทนต์ของคุณ คนเหล่านั้นมี pain points / need / problem อะไรอยู่ แล้วคุณจะเสนอเนื้อหาอะไรให้กับพวกเขา ซึ่งเนื้อหาที่คุณนำเสนอนั้น ควรจะเป็น solution ให้กับปัญหาของพวกเขา

สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ ผมอยากจะให้ ChatGPT เขียนบทความให้กับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจที่มีปัญหาในการทำงานระหว่างวันคือ หัวสมองไม่แล่น ไม่สดชื่น เบลอ คิดงานไม่ค่อยออก จนบางทีเกือบจะส่งผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่ง solution หรือทางออกสำหรับปัญหานี้ที่ผมยอากจะทำเสนอคือการออกกำลังาย

เมื่อเราได้รายละเอียดแบบนี้แล้ว เราก็จะสามารถนำไปให้ ChatGPT ช่วยเขียนงานต่อได้

อย่าลืมว่า เราให้ ChatGPT เข้ามาช่วยงาน แต่ไม่ได้ทำแทน

คิดหัวข้ออกจากสารตั้งต้นของเรา

เรามีกรอบที่อยากจะเขียนในใจแล้ว เราก็ให้มันช่วยคิดหัวข้อให้หน่อย จาก Prompt ด้านล่างนี้ เราได้ทำการอธิายให้ชัด และเคลียร์ที่สุดว่าเรากำลังจะทำอะไร และต้องการให้มันช่วยงานอะไร เพื่อให้มันตอบข้อมูลออกมาให้ตรงกับโจทย์ที่เราต้องการ

Prompt I want to write a blog post for entrepreneurs about why they should exercise and its benefits to their productivity. Some of them feel tired during the day. I hope exercise would help them boost energy and clear their mind.The audience is business owners or entrepreneurs who are busy with their work and overlook their health. Their ages are from 30 to 65. Give me 5 new titles.

มันก็จะแนะนำมาทีละ 5 หัวข้อ ถ้าคุณยังไม่รู้สึกว่าถูกใจ ก็กด regenerate ต่อไปเรื่อยๆ ได้

คิด outline จากหัวข้อที่เราเลือกมา

หลังจากที่เราได้หัวข้อที่ถูกจากที่มันแนะนำมาให้แล้ว คราวนี้เราก็เอาหัวข้อนั้นมาใส่ใน Prompt แล้วให้มันคิด outliner ออกมา

Prompt Create a detailed outline for a blog post titled “title”

พอเราได้ outline ออกมาแล้ว งานต่อจากนี้ก็ง่ายขึ้นเยอะ เพราะเราจะสามารถสั่งให้มันเขียนบทความที่เหลือจาก 2 สิ่งคือ title กับ outline ที่คุณได้จากมันมา ซึ่งสามารถเอาไปใส่ใน Prompts ที่ผมให้ด้านล่างได้เลย

เขียน introduction

Prompt: Write one paragraph of introduction for a blog post titled “(title)” in Thai with an inspirational tone.

เขียนแต่ละ section ใน outline ที่เราเลือกมา

เนื่องจาก Outline จะมีหัวข้อย่อยๆ หลายข้อ ดังนั้น ในแต่ละ section คุณก็เอาแต่ละหัวข้อมาให้คิดแต่ละ section แล้วก็ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนครบหัวข้อใน Outline

Prompt Write the blog section in two paragraphs for this outline “(title)” in Thai with an inspirational tone.

เขียน conclusion

Prompt Write a conclusion section for a blog post titled “(title)” in one paragraph and Thai with an inspirational tone.

ตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้นตอนนี้คือสำคัญที่สุด คุณต้องไม่ลืมที่ต้องกลับมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่มันได้ให้คุณออกมาด้วย รวมถึงอย่าลืมเปลี่ยนคำพูดต่างๆ ทริคตรงนี้อยากให้เปลี่ยนบางอย่างให้มันดูเป็นคุณเขียน ใส่ DNA ของตัวคุณเองลงไป มันจะทำให้งานของคุณดูเป็นเอกลักษณ์ และน่าติดตามมากยิ่งขึ้น