นายจ้างจะช่วยลูกจ้างเอาชนะ Imposter syndrome ได้อย่างไร?

ไม่เพียงแค่นายจ้างเท่านั้นที่อาจพบกับอาการของ Imposter Syndrome แต่ลูกจ้างหรือพนักงานก็อาจประสบกับสถานการณ์นี้ได้เช่นกัน ในบทความนี้จะรวมเอา 3 วิธีที่นายจ้างสามารถใช้เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในการเอาชนะ Imposter Syndrome ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองของพวกเขาให้มากขึ้นได้

Imposter Syndrome คืออะไร?

Impostor Syndrome คือการที่บุคคลหนึ่งไม่รู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเอง และมักจะสงสัยถึงความสำเร็จที่ตนได้รับ ด้วยเหตุนี้เขาก็มักจะกำหนดมาตรฐานตนเองให้สูงมาก และพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อพิสูจน์ความคุ้มค่าของตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดความกดดันในการปฏิบัติงานและในการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

3 เทคนิคนายจ้างช่วยลูกจ้าเอาชนะ Imposter syndrome

c44338- นายจ้างจะช่วยลูกจ้างเอาชนะ Imposter syndrome ได้อย่างไร?

สนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะพูด

สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้พนักงานกล้าที่จะแสดงความรู้สึกของตัวเอง และกล้าที่จะปรึษาเกี่ยวกับอาการ Imposter syndrome ที่พวกเข้ากำลังเจออยู่ นี้จะเป็นอีกช่องทางที่ให้คุณช่วยแก้ปัญหาที่พวกเขาเจอ และให้ความมั่นใจในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าตัวเองไม่แก่ง

ตัวอย่าง: ด้ายเป็นพนักงานฝ่ายการตลาด รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับไอเดียของตัวเอง และรู้สึกว่าไอเดียของตัวเองยังไม่ดีพอ ในฐานะที่คุณเป็นนายจ้าง คุณนัดคุยกับด้ายเป็นการส่วนตัวเพื่อรับฟังปัญหาและความกังวลของด้าย แชร์ประสบการณ์ของตัวคุณเองเมื่อเริ่มทำงานใหม่ๆ และทำให้มั่นใจว่าผลงานของด้ายนั้นมีดีเพื่อเพิ่มความมั่นใจการทำงานในอนาคต

ให้คำติชมอย่างสร้างสรรค์

การให้ feedback อย่างเป็นประจำ และเจาะจงจะช่วยทำให้พนักงานรู้จุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาของตัวเอง ความชัดเจนนี้ช่วยลดความสงสัยในตัวของพวกเขาเอง ช่วยทำให้เขารู้จักตัวเองดีขึ้น

ตัวอย่าง: ออมสินเป็น project manger ในบริษัทของคุณ แต่เธอนั้นยังไม่ค่อยมั่นใจกับความสามารถของตัวเองเท่าไหร่ ทั้งๆ เธอนั้นประสบความสำเร็จในแต่ละโปรเจ็คได้เป็นอย่างดี คุณควรที่จะให้ feedback อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ออมสินได้รู้ว่ามีจุดแข็งอะไรบ้าง และมีจุดออ่น หรือทักษะตรงไหนที่จะต้องไปพัฒนาเพิ่มเติม

banner ทำบัญชีรายเดือน
banner ทำบัญชีรายเดือน - mobile size

เคารพความสำเร็จของพนักงาน

ยินดีกับความสำเร็จของพนักงานจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับพวกเขา การทำแบบนี้เป็นประจำจะยิ่งเป็นตัวเตือนใจพนักงานว่าในสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และส่งผลดีต่อองค์กร

ตัวอย่าง: ไอซ์เป็นพนักงานฝ่ายขายที่ทำยอดขายสูงสุดติดต่อกันหลายเดือน คุณควรจะยินดีกับความสำเร็จให้กับคนอื่นในทีมได้รับรู้ด้วย เพื่อเป็นการยกย่องความสำเร็จของไอซ์ และช่วยทำให้ไอซ์รู้สึกมั่นใจ และเป็นแรงบันดาลใจกับคนอื่น

การใช้เทคนิคเหล่านี้ในสถานการณ์จริงจะช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่สนับสนุนการเอาชนะอาการ Imposter syndrome และสนับสนุนความมั่นใจของพนักงานในองค์กรของคุณ

ไม่อยากพลาดบทความใหม่จากเรา Subscribe เลย ฟรี !!!!