นายจ้างเลิกจ้างพนักงานอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง?

TL;DR – ยาวไปไม่อ่าน

จากสถานการณ์การผันเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 หรือแม้กระทั้งสงครามระหว่างประเทศบ้างก็ตาม ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายเจ้าเข้าสู่ช่วงหัวชนฝา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางองค์กร ทำให้การเลิกจ้างก็เป็นอีกวิธีนึงที่ทำให้บริษัทอยู่รอดต่อไปได้ ทีนี้ทำยังไงหละ? ให้การเลิกจ้างอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมายและไม่โดนฟ้อง

ให้เราอ่านให้ฟัง

ปัญหาที่นายจ้างและลูกจ้างเจอ

นอกจากปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ปัญหาทางด้านจิตใจก็เป็นส่วนนึงของนายจ้างและลูกจ้างที่ต้องเจอ เชื่อว่าการได้เดินทางกับบุคคลที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ได้เติบโตมาด้วยกันแล้วนั้น คงเป็นเรื่องหนักใจอย่างมากสำหรับการตัดสินใจที่จะต้องเลิกจ้างใครสักคน

“การเลิกจ้าง” เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้กับคนทำงาน แน่นอนว่าย่อมเกิดความเครียดว่าจะทำยังไงดี? ความกังวลว่าหลังจากนี้จะทำอย่างไร? และอีกสารพัดความกลัวที่อาจจะตามเข้ามาทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่แฟร์กับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

banner ทำบัญชีรายเดือน
banner ทำบัญชีรายเดือน - mobile size

เลิกจ้างอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง

เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องทำให้เลิกจ้างพนักงาน สิ่งที่คุณจะต้องทำคือหนังสือแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดค่าจ้าง เช่น มีการกำหนดเลิกจ้างวันที่ 30 พฤศจิกายน คุณต้องแจ้งภายในวันที่ 30 ตุลาคม แต่หากคุณไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าในระยะเวลาดังกล่าว คุณต้องจ่ายค่าตกใจแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือนด้วย

ค่าตกใจคืออะไร?

การที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยกะทันหันโดยที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ “ค่าตกใจ” นั่นเอง

อัตราค่าชดเชย

เมื่อมีการเลิกจ้างเกิดขึ้น นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง ตามมาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 ในอัตราดังต่อไปนี้

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 1 ปี 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 1 ปี 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 1 ปี 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน